ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 โดยมีนายชั้น โสภา เป็นประธานคณะกรรมการจัดการชลประทานแก่งคอย-บ้านหมอ พื้นที่ชลประทาน 86,700 ไร่ อยู่ในพื้นที่เขตอำเภอแก่งคอย 10,300 ไร่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 16,430 ไร่อำภอเมืองสระบุรี 7,200 ไร่ อำเภอเสาไห้ 31, 350 ไร่ อำเภอพระพุทธบาท 8,635 ไร่ และอำเภอบ้านหมอ 12, 785 ไร่ ทั้งนี้มีจำนวนตัวแทนขององค์ประกอบคณะกรรมการจัดการชลประทาน 1 คณะ ประกอบด้วย จำนวนกลุ่มพื้นฐานผู้ใช้น้าชลประทาน 30 กลุ่ม และจำนวนกลุ่มบริหารการผู้ใช้น้ำชลประทาน 8 กลุ่ม ซึ่งในปี 2563 ได้รับรางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ระดับดี ประเภทรางวัลสัมฤทธิ์ผลประชาชนมีส่วนร่วม และ ประเภทรางวัลผู้นำหุ้นส่วนความร่วมมือ โดยคณะกรรมการจัดการน้ำชลประทานแก่งคอย-บ้านหมอ จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ประจำปี 2563 โดยคณะกรรมการจัดการชลประทานแก่งคอย-บ้านหมอ ได้มีการวางแผนการส่งน้ำร่วมกับชลประทาน ด้วยการจัดการส่งน้ำระบบชลประทานแบบเป็นโซน มีระเบียบกฎเกณฑ์การใช้น้ำอย่างชัดเจน และมีการประชุมร่วมกัน เพื่อกำหนดแผนการส่งน้ำและหาแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการใช้น้ำชลประทานที่เกิดขึ้นในระหว่างการส่งน้ำของแต่ละเดือนและแต่ละฤดูกาลเพื่อส่งน้ำในการทำการเกษตร ส่งผลให้สามารถส่งน้ำให้กับผู้ใช้น้ำได้อย่างทั่วถึง และกลุ่มผู้ใช้น้ำมีความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเป็นอย่างดี
จากนั้น องคมนตรีและคณะ ได้เดินทางไปยังโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาดินพัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการฯ โดยผู้แทนกรมชลประทานได้บรรยายสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาวฯ เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริ ให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ พร้อมด้วยระบบท่อส่งน้ำ เพื่อเก็บกักน้ำและส่งไปช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกทางตอนล่างในเขตตำบลห้วยบง และตำบลเขาดินพัฒนา ซึ่งขาดแคลนน้ำใช้ในการทำนาตลอดจนน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค แต่เนื่องจากอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาว เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีความจุเก็บกักเพียง 880,306 ลูกบาศก์เมตร และในช่วงฤดูแล้งจะมีอัตราการระเหยและรั่วซึมของน้ำค่อนข้างสูง จึงได้ก่อสร้างสถานีสูบน้ำพร้อมระบบท่อส่งน้ำ เพื่อสูบน้ำจากคลองส่งน้ำสายใหญ่ของโครงการสูบน้ำแก่งคอย – บ้านหมอ แล้วส่งให้แก่พื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาว ฝั่งซ้าย และเติมน้ำลงในอ่างเก็บน้ำตามแนวพระราชดำริ “อ่างใหญ่เติมอ่างเล็ก อ่างเล็กเติมสระน้ำ” ปัจจุบันสามารถช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรทำนาในบริเวณพื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนได้จำนวน 2,500 ไร่ และในช่วงฤดูแล้งส่งน้ำช่วยเหลือการปลูกพืชไร่ได้จำนวน 500 ไร่ รวมทั้งยังสามารถใช้น้ำสำหรับการอุปโภค – บริโภค และการเลี้ยงสัตว์ได้อีกด้วย
โอกาสนี้ องคมนตรีได้ปล่อยปลาตะเพียน และปลาแก้มช้ำ รวมจำนวน 50,000 ตัว เพื่อเป็นแหล่งผลิตพันธุ์ปลาน้ำจืดไว้สำหรับบริโภคและเสริมรายได้ให้แก่ราษฎรในพื้นที่ทั้งนี้ องคมนตรี ได้ปลูกมะม่วงพันธุ์มหาชนก ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำ เพื่อเป็นที่ระลึก และให้ราษฎรได้นำผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสำหรับใช้ประโยชน์ร่วมกัน
























Cr : นายทวีศักดิ์ แป้นคุ้มญาติ นายช่างภาพ สำนักงาน กปร.